(ตัวอย่างเป็น MS outlook)
Step 1 : จากนั้นให้เปิด MS Outlook ขึ้นมา ไปที่เมนู Tools > Email Accounts
Step 2 : คลิกที่ "Add a new e-mail account" แล้วคลิกปุ่ม "Next"
Step 3 : คลิก เลือก “POP3” แล้วคลิกปุ่ม "Next"
Step 4 : ใส่ชื่อของคุณที่ช่อง “Your name:”
Step 5 : ใส่ Email@au.edu ของคุณที่ช่อง “Email Address :”
Step 6 : ที่ "Incoming mail server (POP3) พิมพ์ “pop.gmail.com” ที่ “Outgoing mail server (SMTP):” พิมพ์ “smtp.gmail.com”
Step 7 : ใส่ @au.edu เพิ่มเข้าไปในส่วนของ Accounts Name: ที่ Password: ยังไม่ต้องกรอก เนื่องจากถ้ามีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกันหลายคน ถ้าคุณให้ระบบจำ Password ไว้ เมื่อมีการเปิดโปรแกรม MS Outlook เมล์ของคุณจะถูก download ลงมาโดยอัตโนมัติ จากนั้นคลิกปุ่ม “More Settings…”
Step 8 : คลิกที่แท็บ "Advance" แล้วคลิกเครื่องหมายถูกที่ This server requires a secure connection (SSL) ที่ Incoming mail (POP3): กรอก 995 และคลิกเครื่องหมายถูกหน้า This server requires a secure connection (SSL) ที่ Outgoing Mail (SMTP): พิมพ์ 465
Step 9 :คลิกเครื่องหมายถูกที่ “Leave a copy of messages on the server” เพื่อ copy เมล์ไว้ที่บน server ด้วย แล้วคลิกปุ่ม “OK”
Step 10 : คลิกปุ่ม “Finish”
Step 11 : หลังจากนั้น ระบบจะปรากฎ หน้าต่าง "Enter network Password" ให้คุณ ใส่ Username (จะต้องมี @au.edu อยู่ด้านหลัง username ด้วย) และพิมพ์ Password หลังจากนั้น คลิกปุ่ม “OK” ระบบจะดึงเมล์จาก Google mail มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ
ข้อควรระวัง
หากคุณใช้งาน mail client ใดๆอยู่ เช่น MS Outlook หรือ Incredimail และเชื่อมต่อโดยใช้ POP3 ในการดึงข้อมูลเมล์มายังเครื่องแล้ว ต้องระวัง อย่าทำการ ลบ account ของเดิมใน mail client ออกเด็ดขาด มิฉะนั้น เมล์จะหายทั้งหมด แนะนำให้สร้าง account ใหม่สำหรับการติดต่อไปยัง POP3 ของ Google แทน ทางมหาวิทยาลัยไม่มีระบบสำรองข้อมูลสำหรับ AU Google Apps ดังนั้นคุณต้องระมัดระวัง ในการดึงเมล์ด้วย POP3 เพราะหากคุณลบเมล์ออกจาก GMail ผ่าน mail client application แล้วคุณจะไม่สามารถกู้เมล์คืนมาได้
หมายเหตุ
กรณีที่ไม่สามารถเชื่อมต่อกับ GMail ได้ โดยมี error ในข้อความลักษณะที่บอกว่าไม่สามารถ Login หรือ authentication fail อาจมีสาเหตุมาจาก password ในระบบ user ของมหาวิทยาลัยไม่ตรงกับ Google สามารถแก้ไขได้โดยทำการเปลี่ยน password ของตนเอง (สามารถใช้ password เดิมได้ กรณีที่ password เดิม มีความยาวมากกว่า 8 ตัวอักษร) ได้ในเว็บไซต์ home.au.edu ที่เมนู Change Password